วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พัฒนาการเด็กปฐมวัย


พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ ( maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆและตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของระบบและบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น

พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 6 ด้านดังนี้

• พัฒนาการด้านร่างกาย

• พัฒนาการด้านการรับรู้

• พัฒนาการด้านสติปัญญา

• พัฒนาการด้านภาษา

• พัฒนาการด้านอารมณ์

• พัฒนาการด้านสังคม

พฤติกรรมและทักษะชีวิตของมนุษย์ได้จากการเรียนรู้และการสะสมประสบการณ์ การเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะง่ายและ ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าอีกเวลาหนึ่งและสังคมจะคาดหวังให้เด็กแต่ละคนทำพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ได้ ในแต่ละช่วงอายุของบุคคล

พัฒนาการที่สำคัญในแต่ละวัย

วัยทารก ( 0-2 ปี)

อายุ 0-6 สัปดาห์
เด็กมองหน้าแม่ ทำเสียงในลำคอ ฟังเสียงคุยแล้วยิ้มตอบ

อายุ 4-6 เดือน
จำหน้าแม่ได้ ส่งเสียงอ้อแอ้และยิ้มตามเสียง เด็กสามารถเอื้อมคว้าจับสิ่งของมาเข้าปาก

อายุ 6-9 เดือน
สามารถแยกเสียงของแม่ได้ เริ่มแยกแยะความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ชัดเจน เด็กจำหน้าแม่ได้ เด็กจะแสดงอาการแปลกหน้ากับผู้ที่ไม่ คุ้นเคย และจะติดแม่ เรียกว่า กลัวคนแปลกหน้า (Stranger anxiety)
อายุ 9-12 เดือน
เด็กมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้เลี้ยงดู (Attachment) และจะติดผู้เลี้ยงดู เมื่อต้องแยกจากพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดู เด็กจะร้องไห้และร้องตาม เมื่อพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูกลับมา เด็กจะแสดงความดีใจโผเข้าหาและเข้ามาคลอเคลีย เด็กวัยนี้จะเริ่มกลัวการพลัดพราก (Separation anxiety)

อายุ 12-18 เดือน
เด็กหัดเดินและชอบสำรวจ ระยะนี้เด็กจะกระตือรือร้นที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมค้นหาสิ่งแปลกใหม่เด็กมัก จะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสำรวจตรวจตรา ดังนั้นควรระมัดระวังสิ่งที่เป็นอันตราย - ในวัยนี้เด็กจะทดสอบสิ่งต่างๆ และดูผลของการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพอใจเด็กจะโยนของเล่น ว่าจะตกลงมาอย่างไร ถ้าพอใจเด็กจะโยนซ้ำ ถ้าไม่พอใจเด็กจะหยุดหรือหาวิธีอื่นๆ บางครั้งเด็กจะกรีดร้องจะเอาของมาโยนอีก - เด็กเริ่มพูดได้ เป็นคำๆอย่างน้อย 10 คำ

อายุ 18-24 เดือน
- เด็กเรียนรู้ภาษาอย่างรวดเร็ว และจดจำคำศัพท์ได้ดี

อายุ 2-3 ปี
- เด็กเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น - เด็กรู้ว่าตนเองเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกจากสภาพแวดล้อม ทำให้เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะ พยายาม ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เช่น จับช้อนตักอาหารเอง เด็กจึงมีพฤติกรรมต่อต้าน ( Negativism) ชอบพูดว่า “ ไม่ ” “ ไม่เอา ” “ ไม่ทำ ” เป็นต้น

อายุ 3-5 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
เด็กบังคับกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เด็กชอบปีนป่ายเตะบอล รักลูกบอล ชอบเล่นในสนาม เด็กสามารถขี่ จักรยานสามล้อได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา - เด็กเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างมีชีวิติ (Animism) เด็กชอบเล่นสมมุติโดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก แสดงท่าป้อนข้าวลูก อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต - เด็กเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดหมาย เด็กมักถามว่า “ ทำไม ” “ ทำไมรถจึงวิ่ง ” ฯลฯ - เด็กจะเชื่อมโยงปรากฎการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่าเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน

พัฒนาการด้านภาษา
พัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็กชอบใช้คำถาม “ นั่นอะไร ” “ นี่อะไร ” “ พ่อไปไหน ” เด็กสามารถเข้าใจ คำสั่งง่ายๆได้ เด็กอายุ 4 ขวบชอบใช้คำถาม “ ทำไม ”

พัฒนาการด้านอารมณ์
เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว พอใจ เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น หรือทำร้ายตัวเองแสดงความอิจฉาเมื่อมีน้องใหม่เวลาเล่นสนุกๆก็จะแสดง ความพอใจ แต่เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเด็กก็จะกลัว

พัฒนาการด้านสังคม
- เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น อาบน้ำ แต่งตัว ใส่รองเท้าเอง บอกเวลาจะถ่ายได้ ถอดกางเกง เข้าห้องน้ำเอง และทำความสะอาดหลังขับถ่ายได้ - เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัว เพื่อให้สังคมยอมรับ ทำตัวให้เข้ากลุ่มได้ รู้จักให้ รับ รู้จักผ่อนปรน รู้จักแบ่งปัน เด็กเรียนรู้จากคำสอน คำอธิบายและการกระทำของพ่อแม่ เด็กรู้สึกละอายใจเมื่อทำผิด เด็กเริ่มรู้จักเห็นใจ ผู้อื่น เมื่อเห็นแม่เสียใจเด็กอาจเอาตุ๊กตามาปลอบ เป็นต้น
พ่อแม่ควรฝึกหัดและส่งเสริมให้เด็กวัยอนุบาลได้ช่วยเหลือตนเอง เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว การขับถ่าย เป็นต้น
เด็กอายุ 1-5 ปี อาจติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา เด็กจะนำสิ่งของเหล่านี้ติดตัวไปด้วยทุกแห่ง หรือเข้านอน ด้วยการนำมาอุ้ม กอด และถือไว้ ใช้สำหรับปลอบใจ ทำให้รู้นึกมั่นใจและสบายใจ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องห่างจากแม่ เวลาไม่สบายหรือ เวลาเข้านอน เพื่อทดแทนความสัมพันธ์ที่ห่างเหิน และเด็กก็เริ่มไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น สิ่งของเหล่านี้เรียกว่า Trasitional – object
การเลี้ยงดูที่เหมาะสมจะทำให้เด็กพัฒนาไปได้ดี ในขณะเดียวกัน สังคมก็จะคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัย ซึ่ง เราเรียกว่า งานพัฒนาการ (Deelopmental task) ถ้าเด็กสามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการเด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับ การยอมรับจากผู้อื่นและเด็กก็จะมีความสุขตามมา เมื่อเด็กมีความสุข เด็กจะมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และ สามารถทนต่อความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จตามมา ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขึ้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

นิทานเด็ก

นิทานเด็ก
นิทาน โดย ลุงวิน
นิทาน เรื่อง ช้างฮัดเช่ย
กาลครั้งหนึ่งนาน มาแล้ว ณ ป่าแห่งหนึ่ง ที่อุดมไปด้วย ต้นไม้ใหญ่ น้อย มากมาย ป่าแห่งนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดมากมาย ทั้งตัวโต และตัวเล็ก
เช้าวันหนึ่ง ในวันที่อากาศสดใส แสงแดดส่อนผ่านลงมาตามช่องว่างระหว่างใบไม้ ส่องกระทบพื้นดิน ด้านล่าง ที่ชุ่มชื่น ด้วย น้ำฝน ที่ตกไป เมื่อคืน ช้างเชือกหนึ่ง ชื่อ "พังน้อย" ซึ่งเป็น ช้างตัวเมีย ตัวโต แต่น่ารัก เดินดุ่มๆ มาตาม ทางเดิน ในป่า เหมือนมี เรื่องรีบร้อน จนพื้นดิน รอบๆ สะเทือน ไปหมด
ในขณะที่ "พังน้อย" เดินมา ก็มาพบกับ คุณแดง ซึ่งเป็น มดแดง เกาะอยู่ที่ กิ่ง ต้นมะม่วง ข้างทาง คุณแดง ตะโกนทักทาย พังน้อย ด้วยเสียง แหลมเล็ก ว่า "สวัสดีจ๊ะ พังน้อย นั้น รีบร้อนจะไปไหนหรือ?" คุณแดงถาม ด้วย ความสงสัย
พังน้อยหยุดเดิน และ ตอบกลับมา ด้วยเสียง แหบแห้งว่า "สวัสดีคะ น้องแดง พังน้อย กำลังจะไปหา คุณหมอฮูก เพราะ เมื่อคืน ตากฝน เลยเป็นหวัด จามทั้งคืนเลย" พังน้อย ตอบกลับมา ด้วยเสียงแหบๆ คุณแดง ถามต่อด้วย ความสงสัยว่า " พังน้อย จามที่ว่า นี้เป็นอย่างไรละ ไม่เคยเห็นเลย" ช้างน้อย ตอบว่า." จามก็คือ ฮัดเช่ยไง แบบ ฮาด.. ฮาด ฮัดเช่ย" พังน้อย พูดยังไม่ทัน จบประโยค ก็จามออกมา ครั้งใหญ่ ลมจาม ของ ช้างน้อย นั้น พัดเอา คุณแดง ปลิวลอยออกไป ออกไป . . . . ออกไป . . . . ไกล . . . . มาก
คุณมด ปลิวลอย ออกไป จนกระทั้ง ตกลง ข้างสระน้ำ ที่มี คุณก๊าบ เป็ดน้อยว่ายน้ำอยู่ คุณก๊าบ ตกใจ จนสะดุ้ง ร้องถามออกไปว่า."คุณแดง บินได้ ตั้งแต่เมื่อไรกัน?"คุณแดง ที่ยังจุกอยู่ พูดเสียง อ่อยๆเบาๆ ตอบกลับมาว่า "ไม่ได้บินได้หรอก ถูก ลมจาก ฮัดเช่ย ของ คุณพังน้อย พัดมา นะ"คุณก๊าบ จึงถามต่อ ด้วยด้วย ความสงสัยว่า "ฮัดเช่ยที่ว่านี่ คืออะไรกัน"คุณแดง ตอบว่า "ไม่รู้เหมือนกันยังงงมึนอยู่เลย คุณก๊าบ ไปถาม พังน้อยเองดีกว่า "
สัตว์ทั้งสอง จึงเดินทาง ไปหา พังน้อย ที่ยังเดินทางไปไม่ถึง ร้านคุณหมอฮูก เมื่อพบ พังน้อย คุณก๊าบ ได้ถาม พังน้อยว่า "เห็นคุณมด บอกว่า ถูกฮัดเช่ย ของ พังน้อย พัดกระเด็นไป ไอ้ฮัดเช่ยเป็น อย่างไรหรือ"พังน้อยตอบว่า "มันเป็น อย่างนี้ไง คือ ฮาด. ฮาด ฮัดเช่ย.."แล้วลม จากงวง ของ พังน้อย ก็พัดเอา ทั้งคุณแดง และ คุณก๊าบ ปลิวไป สัตว์ทั้งสอง ถูกลมนั้น พัดมาตกที่ ทุ่งหญ้า ตรงหน้า คุณปุกปุย กระต่ายน้อย ตัวหนึ่ง
กระต่ายน้อย รู้สึกตกใจมาก จึงถามขึ้นว่า " คุณก๊าบกับคุณแดง เป็ดกับมด บินได้ตั้งแต่เมื่อไรกัน? "สัตว์ทั้งสอง รีบตอบ ทั้งที่ ยังจุกอยู่ว่า "ไม่ได้บินได้หรอก ถูกลมจาก ฮัดเช่ย ของ พังน้อยพัดมานะ"คุณปุกปุย จึงถามต่อ ด้วยด้วย ความสงสัยว่า "ไอ้ฮัดเช่ย คืออะไรกัน" แดงกับก๊าบตอบว่า "ไม่รู้เหมือนกันยังงงมึนอยู่เลย คุณบุกปุยไปถาม พังน้อยเองแล้วกัน"
สัตว์ทั้งสามจึงเดินทางกลับไปหา พังน้อย ที่เดินทาง เกือบถึง ร้านคุณหมอฮูก อยู่แล้ว
เมื่อ พบพังน้อย คุณปุกปุย จึงถามพังน้อยว่า "เห็น คุณก๊าบกับคุณแดง บอกว่า ถูกฮัดเช่ยของ พังน้อย พัดกระเด็นไป ไอ้ฮัดเช่ยเป็นอย่างไรหรือ? " คุณพังน้อยจึงตอบคุณปุกปุยว่า "มันเป็นอย่างนี้ไงคือ ฮาด. ฮาด ฮัดเช่ย. "
พังน้อยจามออกมาครั้งใหญ่ คราวนี้ ลมจาก งวง ของ พังน้อย ก็พัดเอา ทั้งคุณแดง และ คุณก๊าบ ปลิวไปอีก ครั้งหนึ่งแต่ คุณปุกปุย ละเป็น อย่างไร? คุณปุกปุย ไม่ได้ถูกพัดไป เพราะได้กระโดดหลบลมฮัดเช่ยของพังน้อยได้อย่างทันท่วงที
ส่วนคุณแดง และ คุณก๊าบ ครั้งนี้ ถูกลมจาม พัดปลิวไป ตกที่หน้า ร้านคุณหมอฮูกพอดี และ ทั้งสองต้องรับการ รักษาตัว จาก อาการ บอบช้ำ ที่ตกลงมาจากฟ้า และอาการหวัด ที่ติดจาก คุณพังน้อยอีกด้วย
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เมื่อเราพบ คนที่เป็นหวัด จะต้องหลีกเลี่ยง อย่าให้ถูก ลมจาม ของคนๆนั้น แม้ว่าจะ ไม่ถูก ลมพัดไป เหมือนอย่าง คุณแดง และ คุณก๊าบ แต่อาจทำให้ ติดเชื้อหวัด จากคนๆนั้นได้นะ จ๊ะ . . .